วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

องค์ความรู้ที่ได้จาก Thai Teachers TV

โทรทัศน์ครู เรื่อง กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส

โดย คุณครู เด่นดวง  ธรรมทวี

กิจกรรมสร้างพื้นฐานการเรียนรู้5ประสาทสัมผัส

เป็นการจัดความพร้ามให้เด็กปฐมวัยทั้ง4ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญ ด้านสังคม  เน้นความเป็นจริงเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง5 หูมีไว้ฟัง ตามีไว้ดูจมูกมีไว้ดม ลิ้นมีไว้ชิมรส ผิวการมีไว้สัมผัส โดยที่ครูเน้นกระตุ้นการเรียนผ่านประสบการณ์จริงในห้องเรียน

ประสาทสัมผัสที่1 ตาการมองเห็น
ให้เด็กได้เห็นของจริงโดยให้เด็กมองขนานของรูปทรงว่ามีขนาน เล็ก ใหญ่ การเปรียบเทียบเมื่อเด็กเข้าใจถึงขนานแล้วครูก็จะนำไปเชื่อมโยค หนาบางจากนั้นครูจะปล่อยให้เด็กมองแยกแยะสิ่งของด้วยตนเองเพื่อสร้างประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง

ประสาทสัมผัสที่2 หูมีไว้ฟัง 
ฟังเสียงในกระบอกเสียง เปลือกหอย เสียงไม่เหมือนกันจากดังที่สุดไปหาเบาที่สุด

ประสาทสัมผัสที่3 ผิวกาย
เช่น มือ กิจกรรม โดยการปิตาเด็กให้เด็กใช้มือสัมผัสผิวผ้าแล้วจับคู่ผ้าที่มีพื้นผิวเดียวกันในขณะที่เด็กจับเด็กจะรู้สึกว่ามีผ้า หยาบ  นิ่ม โดยผ่านการสัมผัสของจริง

ประสาทสัมผัสที่4 การดมกลิ่น
เด็กจะรู้ว่า หมอ เหม็น เป็นกลิ่นแบบไหน เริ่มต้นจากการดมกลิ่นครูจะมีกลิ่นให้เด็กดมเพียง4กลิน เด็กพิสูตรได้ว่ากลิ่นนี้เหม็น หรือหอม  หรือกลิ่นอะไร หลังจากเด็กดมกลิ่่นก็ให้เด็กจับคู่กลิ่นที่เหมือนกัน
ที่เด็กจับคู่ได้เพราะเด็กเกิดประสาทสัมผัสในเรื่องการดม

ประสาทสัมผัสที่5 การชิมรส
การชิมรสมีรสหลักๆอยู่4 รส เค็ม เปรี้ยว หวาน ขม โดยผ่านกิจกรรมที่ครูเตรียมมาน้ำมะนาวและน้ำเชื่อมโดยครูชิมและแสดงออกทางท่าทางให้เด็กทาย จะเห็นได้ว่าเด็กจดจำประสบการณ์เดิมที่เด็กรับรู้มาโดยตรง

**หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5ก็คือเพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมที่จะเรียนในขั้นที่สูงต่อไป

ครั้งที่16


วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน

เวลา8.30-12.20


-ได้มีการนำของเล่นเข้ามุมทั้งหมดที่นักศึกษาได้ทำ มาจัดหมวดหมู่ จัดประเภท 
-ของเล่นวิทยาศาสตร์ต้องบอกด้วยว่าเด็กเล่นแล้วได้อะไร มีหลัการ หรือแนวคิดอย่างไร อธิบายให้เด็กเข้าใจง่าย


ภาพ





ค้นคว้าเพิ่มเติม


การเล่นของเด็กๆ

บทความโดย ธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์ เลขาธิการ สมาคมไทสร้างสรรค์ คัดจากจดหมายข่าวเด็กไท
การเล่นของเด็กๆ
ไม่ทราบว่านานเท่าไรแล้วที่การเล่นของเด็กๆ แทบจะกลายเป็นสิ่งแปลกประหลาดในสังคมของเรา กระทั่งเมื่อกล่าวถึงการเล่นกลับผู้ใหญ่ในวันนี้แล้ว มีจำนวนไม่น้อยที่มองเห็นการเล่นของเด็กเป็นแค่ความสนุกสนานชั่วคราวที่ไม่มีความหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย
การนิยามการเรียนรู้สำหรับเด็กจึงกลับกลายหมายถึงการบรรจุข้อมูลจำนวนมากลงไปในสมองน้อยๆ ของเด็กๆ และมิได้หมายถึงสิ่งที่เรียกว่าปัยญาแต่อย่างใด
เราจึงมองการให้การศึกษาและความสามารถพื้นฐานของมนุษย์อย่างแยกส่วน การศึกษาในความหมายของผู้ใหญ่จำนวนมากจึงหมายถึงการนั่งลงอ่าน เขียน และรับข้อมูล ซึ่งเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นที่โรงเรียน ไม่ใช่ที่บ้าน เพราะการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน การเล่นของเด็กๆ เป็นกิจกรรมที่เปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเล่นนั้นไม่เกิดมรรคผลใดต่ออาชีพและร้ายได้ในอนาคต
ผลปรากฎที่เห็นอยู่วันนี้คือ เรามีบ้านเมืองที่เจริญและทันสมัยในความหมายข้างต้น แต่ไม่ปลอดภัยและไม่ค่อยได้ประโยชน์ ไม่มีที่ทางให้เด็กๆเหลืออยู่ เพราะพื้นที่ทางธรรมชาติได้จัดสรรไปหมดแล้ว ที่มีอยู่ก็เต็มไปด้วยกิจกรรมของผู้ใหญ่ไม่ปลอดภัย เด็กเล่นไม่ได้หรือเล่นได้อย่างจำกัด ผู้คนในเขตเมืองจำต้องพาลูกๆ ไปเล่นในห้างสรรพสินค้า ที่ที่เต็มไปด้วยกิจกรรมทางการค้าสำหรับผู้คนทุกรุ่น ทุกวัย รวมทั้งเด็กๆ เข้าไปรับการปลูกฝังค่านิยมการบริโภค ความทันสมัย ความเจริญ และของใหม่อยู่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เล็กจนโต กลายเป็นมนุษย์ผู้ใหญ่ที่บิดเบี้ยวและสับสน มาสร้างความบิดเบี้ยวและสับสนให้คนอื่นๆ ต่อไป
ความเป็นจริงที่ว่าเด็กๆ เรียนรู้ผ่านการเล่นจึงเป็นความเป็นจริงที่ผู้ใหญ่จำนวนมากไม่รู้ บ้างก็ไม่อยากรับรู้ บ้างก็ไม่ต้องการยอมรับและบ้างก็ไม่อยากใส่ใจ เพราะเหนื่อยที่ต้องวิ่งตาม อยู่นิ่งๆหน้าโทรทัศน์และดี ดูแลง่ายและปลอดภัยดีโดยที่แท้จริงแล้วการสูญเสียโอกาสเล่นในวัยเด็กนั้นเป็นความสูญเสียที่ประมาทมิได้ เพราะมนุษย์ตัวเล็กๆ เหล่านี้ซึมซับมิตรภาพ ความรัก การแบ่งปัน ความเอื้ออาทร พัฒนาทักษะการแก้ไขข้อขัดแย้ง พัฒนาความสามรถในการคิดสร้างสรรค์ความเชื่อมั่นต่อมนุษย์และความสามรถทางสมองจากการเล่นทั้งสิ้น และทั้งหลายทั้งปวงนี้เกิดขึ้นได้ในวัยเด็กเท่านั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกเมื่อเวลาผ่านเลยไปแล้ว
ดังนั้น การจำกัดโอกาสการเล่นของเด็กจึงเป็นการจำกัดโอกาสการเติบโตที่มีผลต่อเด็กไปตลอดชีวิตส่งผลกระทบต่อบุคคลแวดล้อมจำนวนมหาศาลที่ผ่านเข้ามาสัมผัสเขาตลอดช่วงชีวิตที่พวกเขาและเธอดำรงอยู่
copy2_of_images.jpegองค์กรจำนวนมากจึงได้พยายามผลักดันให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคิดถึงโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่งยวดนี้โดยผลักดันให้ประเทสต่างๆลงสัตยาบรรณ ถือปฎิบัติและให้ความสำคัญต่อการจัดพื้นที่เล่นให้เด็กๆอย่างเหมาะสมและพอเพียง ไม่ว่าเด็กๆเหล่านั้นจะเกิดกลางกรุงหรือกลางทุ่ง ก็พึงจะมีโอกาสเล่นได้เท่าๆกัน (นี่อาจจะเป็นหนึ่งในไม่กี่โอกาสที่เด็กบ้านนอกของเมืองไทยมีมากว่าเด็กเมือง และคงเป็นเหตุให้มนุษย์ที่เกิดและเติบโตที่บ้านนอกดูแตกต่างกับมนุษย์เมืองกรุง)
การเล่นจึงไม่ได้เป็นแค่เพียงการเรียนรู้ที่ตรงไปตรงมาที่สุดเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการกล่อมเกลาที่สัมฤทธิผลอย่างวิเศษสุด การเล่นเป็นโอกาสให้เด็กๆทำความเข้าใจต่อโลกและเข้าใจชีวิตอย่างเป็นจริง เพราะชิวิตนั้นไม่ได้มีแต่เสียงหัวเราะรื่นรมย์หากยังมีความผิดหวัง ขัดแย้ง เจ็บปวด และร้องไห้อยู่ด้วย เราผู้ใหญ่ก็สามรถหวังได้ว่าพวกเขาจะเติบโตแข็งแรง รับมือกับความไม่แน่นอนของชีวิตได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง แล้วเราก็สามรถนอนตาหลับ






สรุปงานวิจัย


วิจัยเรื่อง...การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะ

ปริญญานิพนธ
ของ
เอราวรรณ ศรีจักร


1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหวาง 4 - 5 ปซึ่งกําลัง
ศึกษาอยูระดับอุบาลศึกษา

2. การพัฒนา หมายถึง ผลลับของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ไดรับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
วิทยาศาสตรสาหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผูวิจัยสร็างขึ้น

3. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหมายถึง ความสามารถของ
เด็กปฐมวัยในการใช้ความคิดคนหาความรู้เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค ความรู้ได้ในการวิจัยนี้
จําแนกเปน 4 ดาน ดังนี้
    3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใชประสาทสัมผัสอยางใดอยางหนึ่ง
หรือหลายอยางรวมกัน ไดแก หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เขาไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ
เหตุการณแล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกตางของสิ่งนั้นได
    3.2 การจําแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบงประเภทสงของโดยม
เกณฑที่ใชในการจำแนกประเภทอยางใดอยางหนึ่งไดแก ความเหมือน ความแตกตางและ
ความสัมพันธ
    3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกขอความหรือเลาใหฟงถึงสิ่งที่
คนพบจากการสังเกต การทดลองเพื่อใหผูอื่นเขาใจไดถูกตอง
    3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธบายหรือสรุปความเห็นสิ่ง
ที่คนพบหรืออธิบายสิ่งที่เกดขึ้นตามมาหรือที่ไดจากประสบการณการเรียนรูรวมกับการใช้เหตุผล

4. กิจกรรมการเรียนรูหมายถึงงานการเรียนสําหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
เพื่อใหเด็กไดปฏิบัติการการเรียนรโดยจัดลําดับสาระตามชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตรของ
รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นํามาใชประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรูโดยเนนใหเด็กไดลงมือ
กระทําไดรับประโยชนจริง ดังนี้6
ขั้นนํา เปนขั้นการเตรียมเด็กเขาสูกิจกรรมการเรียนรูประกอบดวยกิจกรรมอยาง
ใดอยางหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคลองกับเรื่องที่จะเรียน
ขั้นสอน แบงออกเปน 2 ตอน
ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมใหเด็กมีความรูความเขาใจเกี่ยวกับมโนทัศนของเรื่องที่เรียน และ
ตอนที่ 2 ทําชุดแบบฝกทักษะตามมโนทัศนของเรื่องที่เรียน
ขั้นสรุป เด็กรวมกันสรุปความรูเกี่ยวกบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรที่เด็กได้รับ
จากการเรียนเรื่องนั้นๆ

5. ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝกทักษะวิทยาศาสตรโดยเนนการใชสมองเปนฐานการเรียนรู
(Brain - Based Learning) สําหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะจํานวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตวและโลกของเรา

กรอบแนวคิดในการวิจัย

สมมติฐานในการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมการเรียนรูประกอบชดแบบฝ ุ กท ักษะ มีการพฒนา ั
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรกอนและหลังการทดลองแตกตางกัน
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร

1. การสังเกต
2. การจําแนกประเภท
3. การสื่อสาร
4. การลงความเห็น

กิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ขั้นนํา
ขั้นสอน แบงออกเปน 2 ตอน
ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนรู
ตอนที่ 2 ทําชุดแบบฝกทักษะ
วิทยาศาสตร

ขั้นสรุ

ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรขั้นพื้นฐาน (Basic Science Process Skills) มี8 ทักษะ ดังนี้

 1. ทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง ความสามารถในการใชประสาทสัมผัสอยางใดอยางหนึ่งหรือหลายอยางรวมกันเขาไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถูหรือเหตการณ์โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
  2. ทักษะการวัด (Measurement) หมายถึง ความสามารถในการใชเครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งตางๆ
ไดอยางถูกตองโดยมีหนวยกํากับและรวมไปถึงการใชเครื่องมืออยางถูกตอง
  3. ทักษะการคํานวณ (Using numbers) หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบคูณหาร ตัวเลขที่แสดงคาปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไดจากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง
  4. ทักษะการจําแนกประเภท (Classification) หมายถึง ความสามารถในการจัด
จําแนกหรือเรียงลําดับวัตถุหรือสิ่งที่อยูในปรากฏตางๆ ออกเปนหมวดหมูโดยมีเกณฑที่ใช้ใน
การพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความแตกตางและความสมพันธ์
  5. ทักษะความสัมพันธระหวางมิติของวัตถุกับเวลา (Space / Space Relation -
ship and space / time relationship) หมายถึง ความสามารถในระบุความสัมพันธระหวางสิ่ง
ตอไปนี้ความสัมพันธระหวาง 2 มิติกับ 3 มิติสิ่งที่อยูหนากระจกเงากับภาพในกระจกเปนซาย
ขวาของกันและกันอยางไร ตําแหนงที่อยูของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงตําแหนง
ที่อยูของวัตถุบเวลาหรือมิติของวัตถุเปลี่ยนแปลงไปกับเวลา มิติ (Space)  ของวัตถุหมายถึง
ที่วางบริเวณที่วัตถุนั้นครอบครองอยูซึ่งมีรูปรางและลักษณะเช่นเดียวกับบวัตถุนั้น โดยทั่วไปแลว
มิติของวัตถุจะมี 3 มิติ (Dimensions) ไดแก ความกวาง ความยาว ความหนาหรือความสูงของ
วัตถุ
  6. ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายขอมูล (Organization data and
communication) หมายถึงความสามารถในการนําขอมูลที่ไดจากการสังเกต การวัด การทดลอง
และจากแหลงอื่นๆ มาจัดใหม โดยวิธีการตางๆ เชน การจัดเรียงลําดับ การจัดแยกประเภท
เพื่อใหผูอื่นเขาใจความหมายของขอมูลชุดนั้นๆ ดีขึ้น โดยการนําเสนอในรูปตาราง แผนภูมิ
แผนภาพ กราฟ
  7. ทักษะการลงความเห็นจากขอมูล (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนําเสนอ
อธิบายขอมูลที่มีอยูซึ่งไดมาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรูเดิมหรือ
ประสบการณเดิม เพื่อสรุปความเห็นเกี่ยวกับขอมูลนั้นๆ
  8. ทักษะการพยากรณ (Prediction) หมายถึง ความสามารถทํานายหรือคาดคะเน
สิ่งที่จะเกิดขึ้นลวงหนา โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณซ้ำๆ และนําความรูที่เปนหลักการ
กฎหรือทฤษฎีในเรื่องนั้นๆ มาชวยในการทํานาย การทํานายทําไดภายในขอบเขตของขอมูล
(Interpolating) และภายนอกขอบเขตขอมูล (Extrapolating)



ครั้งที่15

วันจันทร์ที่23กัยายน 2556
เวลา8.30-12.20

วันนี้อ. ตฤณให้นักศึกษาสาธิตการทำต้มจืด (โดย การแสดงบทบาทสมมติ)

โดยมีขั้นตอนการสอนดังนี้

1 (สวัสดีค่ะเด็ก เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะคุณครูบ้างค่ะ)เด็กตอบ

2 (เด็กๆเก่งมากค่ะ  แล้วให้เด็กๆลองมาทายกันนะค่ะว่าของเหล่านี้สามารถนำมาทำอะไรได้บ้างค่ะ) เด็กตอบ

3 วันนนี้คุณครูจะพาเด็กมาทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับกันนะค่ะ....(ไหนใครเคยเข้าครัวช่ายผู้ปกครองทำอาหารกันบ้างอ๋ย)

4 ตอนนี้เรามาเริ่มต้นทำแกงจืดกันเลยดีกว่า ขั้นตอนแรกเราต้องเทน้ำซุบใส่หม้อ ....(มีเด็กคนไหนอยากช่วยครูเทนำ้ซุปลงหม้อบ้างเอ๋ย... ยกมือขึ้นค่ะ  

5 ในขณะที่รอน้ำในหม้อเดือดครูก็จะหั่นเต้าหู้รอ  ครูก็ถามเด็กๆไปด้วยว่าสิ่งที่ครูกำลังหั่นคืออะไรเวลาเด็กอยากทำครูก็บอกว่ามันอัตราย เพราะมีดมีคมอาจจะบาดมื้อของเด็กได้ดั้งนั้นเด็กต้องให้ผู้ปกครองเป็นคนทำนะค่ะ

6เมื่อน้ำในหม้อเดื่อดแล้วครูก้จะปั้นหมูสับลงในหม้อ  ให้เด็กได้มีส่วนร่วมโดยการให้เด็กมาช่วยคุณครูปั้นหมูสับโดยที่ครูเป็นคนใส่หมูสับลงหม้อเพราะหม้อมันร้อนอาจจะเกิดอัตรายได้ และบอกให้เด็กสังเกตการเปลี่แปลงของหมูสับที่เรานำลงหม้อ(ตอนนี้เด็กเห็นหมูสับเป็นอย่างไรบ้างค่ะ) เด็กตอบเราก็กล่วาชมหรือตบมื้อให้เด็ก

7 ในระหว่างที่รอหมูสับในหม้อสุก คุณครูก็จะพาเด็กทำกิจกรรม เช่น การร้องเพลงประกอบการทำอาหารไปด้วยเพื่ให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เมื่อหมูสับสุขครูก็ถามเด็กว่า (เด็กว่าหมูสับในหม้อมีการเปลี่ยนเปลงมั้ยค่ัะและเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างค่ะ)

8 จากนั้นคุณครูก็จะใส่ผักที่เตรียมไวลงในหม้อ และถามเด็กว่า (มีเด็กคนไหนอยากช่วยคุณครูใส่ผักลงในหม้อบ้างคะ่) เมื่อใส่ผักลงในหม้อก็ให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของผักที่ใส่ลงไป

 9 ต่อจากนั้นคุณครูก็ปรุงรสชาติของแกงจืด ถามเด็ดว่า(มีเด็กคนไห้อยากช่วยคุณครูปรุงรสแกงจืดบ้างค่ะ)

10 พอปรุงรสชาติเสร็จแล้วครูก็จะตักแกงจืดใส่ถ้วยให้เด็กได้ชิมรส ถามรสชาติแกงจืดว่าเป็นอยากไรบ้างและสรุปผลว่าแกงจืดให้ประโยชน์อะไรแก่เด็กๆบ้าง


กิจกรรมการสอนเพื่อนทำแกงจืดหมูสับ






วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ครังที่ 14

 วันจันทร์ ที่16 กันยายน 2556

เวลา8.30-12.20

**วันนี้อาจารย์ตฤณ สอนการเขียนแผน

เรื่อง การทำอาหาร (Cooking) อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 6 กลุ่มแพื่อช่วยกันเขียนแผน



ภาพการทำแผน/นำเสนอแผน






เรียนชดเชด

 วันอาทิตย์ ที่15 กันยายน 2556

เวลา8.30-12.20

อาจารย์ให้เก็บตกงานทุกชิ้นใครยังไม่นำเสนองานให้ออกมานำเสนอ

 **นำเสนอของเล่นเข้ามุม

1 นิทานเคลื่อนที่   ใช้แม่เหล็กในการเคลื่อนไหวสัตว์-บูรณาการด้านภาษา
2 กล่องสเปกตัม หรือ กล่องสีน่าค้นหา  ส่องกล่องแล้วแสงจะกระทบกับของที่อยูข้างในจึงทำให้เรามองเห็นสีแสงกระทบกับสีทำให้เห็นสี 7 สี
3 รถลงหลุม  
4 ลิงห้อยโหน  (กลุ่มดิฉัน) หลักการคือ ถ้าจุดหมุนห่างมากจะเกิดความเอียงมาก แต่ถ้าจุดหมุมห่างน้อยก็จะเอียงน้อย
5 ซูโมกระดาษ  หลักการคือ เกิดจากไม้ไอติมกระทบกับกล่องจึงทำให้วัตถุเคลื่อนไหว
6 กระดาษเปลี่ยนสี  หลักการคือ  เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแม่สี 3 สี จึงทำให้เรามองเห็นอีกสีหนึ่ง
7 สัตว์โลกน่รัก การกำเนิดของสัตว์หรือวงจรของสัตว์
8 กล่องสัตว์ 

**นำเสนอของเล่น
**นำเสนอการทอดลอง
1 กระดาษร้องเพลง
2 กระป๋องผิวปาก
3 กรวยลูกโป่ง
4 กิ้งก่าไต่เชื่อก
5 กระป๋องบูมมะแลง

1 กาลักน้ำ หลักการคือโมเลกุลแรงดันของเหลวไหลจากที่สูกลงมาที่ต่ำ
2 ตะเกียบดูดขวด หลักการ ที่เรายกขวดได้เพราะมีแรงดันภายในขวดจึงทำให้เรายกขวดข้าวด้วยตะเกียบได้ที่เรายกได้
           1 ยกไม่ได้เพราะข้าวในขวดมันหลวมจึงทำให้ยกขวดไม่ได้
           2 ที่ยกได้เพราะมีการกดข้าวให้แน่นในขวดจึงมีความหนาแน่นและทำให้ยกขวดได้
3 ดอกไม้บาน  หลัการคือ เพราะกระดาษมีการดูดซึมน้ำจึงทำให้กระดาษดอกไม้บาน

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่13 

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556

เวลา  8.30-12.20

* อาจารย์ติดธุระ (ไปสัมมนาที่จังหวัดสระบุรี)


**มาเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่15 กันยายน 2556 เวลา8.30 

ค้นคว้าเพิ่มเติม

การเล่นกับการพัฒนาสมองลูกน้อย 




สมองของคนเรามีอยู่ 2 ซีก ซีกขวา และซีกซ้าย ซีกขวาจะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย และสมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของร่ายการซีกขวา สมองทั้ง 2 ซีก จะมีใยประสาทจำนวนมากเชื่อมอยู่เพื่อให้สมองทั้ง 2 ส่วนรับรู้การทำงานซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น สมองแต่ละซีกจะมีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด โดยที่สมองทางซีกซ้าย เป็นส่วนที่ควบคุมการคิด และมีการทำงานที่ออกมาเป็นนามธรรม เช่น การนับจำนวนเลข, การบอกเวลา, การสรรหาถ้อยคำ, การหาเหตุผล เป็นต้น

 ส่วนสมองซีกขวาจะทำหน้าที่จินตนาการ, ฝัน, สร้างสรรค์ความคิดใหม่, การซึมซาบในดนตรีและศิลปะ เป็นต้น ดังนั้นการที่คนเราสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้นั้น เกิดจากการทำงานของสมองซีกขวานี้เอง เมื่อสมองซีกขวาทำงาน สมองซีกซ้ายจะรับหน้าที่แสดงผลการทำงานออกมาให้คนอื่นเห็น สิ่งที่สมองทั้งสองส่วนเหมือนกัน คือ การรับรู้ความเป็นไปของโลกภายนอกผ่านอวัยวะรับรู้ทางประสาทชุดเดียวกัน แต่สมองทั้งสองส่วนทำงานแตกต่างกันมาก คือในขณะที่สมองซีกซ้ายกำลังทำหน้าที่พูดคุย ใช้เหตุผลต่างๆ  สมองซีกขวากำลังทำหน้าที่คิดจินตนาการต่างๆ โดยไม่มีการคำนึงถึงกาลเวลา อย่างไรก็ตาม สมองทั้ง 2 ซีก ควรได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันสามารถกล่าวได้ว่าการศึกษาส่วนใหญ่ที่จัดให้กับเด็กในทุกวันนี้  มักจะมุ่งไปในการพัฒนาสมองซีกซ้ายเป็นส่วนใหญ่ โดยการศึกษาในปัจจุบันเด็กต้องท่องจำ คิดเลข
 เรียนรู้ทางภาษา ระเบียบ กฎเกณฑ์ การวิเคราะห์ข้อมูล อันเป็นหน้าที่ของสมองซีกซ้ายทั้งนั้น ขณะที่สมองทางซีกขวาไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

การศึกษาส่วนใหญ่ยังเน้นการที่ครูเป็นศูนย์กลาง คำตอบที่ถูกต้องต้องมาจากครู หรือจากหนังสือเรียนเท่านั้น โดยไม่เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสคิดหาคำตอบที่แตกต่างไปจากคำตอบเหล่านี้  การเรียนแบบนี้เองเป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ทำให้เด็กเกิดความกลัวในการคิดหาคำตอบใหม่ๆ ทั้งๆ ที่คำตอบนั้นอาจเป็นคำตอบที่ถูกต้องก็ได้ ในสภาพการเรียนรู้การสอนแบบนี้
สมองซีกขวาของเด็กอาจจะถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิง
เด็กในช่วงอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นวัยแห่งการคิดฝันจินตนาการ ดังนั้นสมองส่วนที่มีความสำคัญในวัยนี้ จะเป็นสมองซีกขวาเป็นส่วนใหญ่ เด็กในวัยนี้ควรจะได้รับการกระตุ้นให้สมองซีกขวาได้พัฒนาอย่างเต็มที่ โ่ดยการส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ความคิด
 จินตนาการของเด็กเอง โดยการพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีกไปพร้อมกันและเท่าเทียมกัน โดยให้มีการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาจากระบบที่เป็นอยู่ เป็นระบบที่ให้เด็กมีอิสระในการคิดการหาคำตอบมาขึ้น การพัฒนาสมองซีกขวาอาจทำได้โดยการสอนให้เด็กได้มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับการคิดการจินตนาการ เช่น การเล่านิทาน การแสดงละคร การเล่นเกมส์ เล่นกีฬา ดนตรี และศิลปะ เป็นต้น

ผลจากการวิจัยจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อเด็กในวัยนี้ถูกกีดกันจากนวนิยาย นิทานแล้วเด็กจะกลายเป็นคนที่มีจิตใจไม่มั่นคง อ่อนไหวง่าย เพราะการฟังนิทานนั้นเด็กสามารถใช้จินตนาการอย่างเต็มที่ และนิทานจะทำหน้าที่คล้ายๆ กับความฝันของเด็กๆ
 ที่จะช่วยระบายความเก็บกดต่างๆ ในใจ ที่เด็กไม่สามารถได้รับการตอบสนองในชีวิตจริง ดังนั้น ความรู้ทางวิชาการทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นทาง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือศีลธรรม สามารถสอนเด็กได้โดยอาศัยสื่อการสอนที่ชวนคิด ชวนฝัน พวกเด็กๆ จะสามารถเข้าใจความรู้ต่างๆ ได้ดีขึ้น  ถ้าสามารถจินตนาการออกมาเป็นเรื่องราวได้ นอกจากการสร้างพัฒนาการทางสมองโดยใช้การเล่านิทานแล้ว การเล่นต่างๆ ที่สมวัยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถส่งเสริมการพัฒนาทางสมองซีกซ้ายของเด็กในวัยแรกเกิดจนถึง 6 ปีได้

การเล่นกับเด็ก ต้องจำไว้เสมอว่าเด็กแต่ละคนนั้นมีความเป็นตัวของตัวเอง มีความชอบหรือไม่ชอบในสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การที่จะบอกว่า การเล่นแบบใด หรือของเล่นชนิดใดเหมาะกับเด็กในวัยนี้ มักจะเป็นไปไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ เป็นผู้ที่จะมีความสำคัญมากในการสรรหาของเล่นที่เหมาะกับลูกของตนและที่ลูกของตนชอบ โดยการสังเกตดูว่า เด็กชอบเล่นอะไร มีความถนัดในด้านใด จากการแสดงออกของเด็กเอง
 พ่อแม่ต้องมีจินตนาการในการคิดหาวิธีในการเล่นกับลูก โดยกิจกรรมหรือของเล่นนั้นเน้นที่ความสนุกสนานและต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก ไม่ยากเกินไป หรือง่ายเกินไป การที่เล่นของเล่นที่ยากเกินความสามารถของเด็กจะทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายง่าย และมีผลต่อเด็กเหมือนกับว่าเด็กไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้


 เมื่อโตขึ้นก็จะไม่มั่นใจในตนเองในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ส่วนถ้ากิจกรรมหรือของเล่นที่ง่ายเกินไป ก็จะไม่พัฒนาความสามารถทางการคิดจินตนาการของเด็กเลย คำถามที่ว่าต้องเล่นกับเด็กนานเท่าใดในแต่ละกิจกรรมนั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ยากแก่การหาคำตอบที่ตายตัว เพราะต้องอาศัยดูจากตัวเด็กเอง ถ้ากิจกรรมสนุกสนานและเด็กชอบที่จะเล่นแล้ว เด็กจะเล่นได้นานโดยไม่เบื่อ แต่ถ้ากิจกรรมที่เล่นหรือของเล่นนั้นยากเกินไป เด็กก็จะเล่นได้ในระยะเวลาสั้นๆและเลิกสนใจในกิจกรรมนั้นไป
 ดังนั้นผู้ที่เป็นพ่อแม่ต้องสังเกตลูกของตนให้ดี ถ้าเด็กเบื่อในกิจกรรมที่กระทำอยู่ ก็จำเป็นที่จะต้องหากิจกรรมหรือของเล่นใหม่

สรุปได้ว่า พ่อแม่มีหน้าที่ที่จะส่งเสริมให้ลูกของตนได้รับการพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาไปอย่างเท่าเทียมกัน
โดยการเล่นของเล่นหรือหากิจกรรมต่างๆ มาเล่นกับลูกของตน เน้นที่ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
อย่าทำให้ลูกมีความรู้สึกเหมือนถูกบังคับ รวมทั้งพ่อแม่จำเป็นต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกของตน
 โดยทำตัวให้เหมือนกับที่ตนได้สั่งสอนลูก เด็กจะสามารถพัฒนาความสามารถทางสมองของเขาเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 และจะกลายเป็นเด็กที่มีความมั่นคงทางจิตใจ มีความมั่นคงในตนเอง มีเหตุมีผลในเรื่องต่างๆ และที่สำคัญเด็กจะเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

พัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย อาจจะสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้

วัยทารก 0 - 2 ปี
  • 5 เดือน จะสามารถนั่งได้ตรง ถ้าจับนั่งในท่านั่ง
  • 6 เดือน จับ / กำ ลูกสี่เหลี่ยมได้
  • 1 ปี ยืนและเดินได้ประมาณ 2 - 3 ก้าว เริ่มจะพูดได้
  • 1 - 2 ปี เริ่มพูดเป็นคำสั้นๆ รู้จักชื่อตัวเอง
วัยเยาว์ 2 - 3 ปี : วัยแห่งการเรียนรู้
  • เดินถอยหลังได้
  • เตะลูกบอลได้ 
  • เริ่มที่จะป่ายปีนเฟอร์นิเจอร์ และถีบจักรยาน 3 ล้อได้ 
  • ใช้กรรไกรได้ 
  • ย่างเข้า 3 ปี จะเริ่มใช้ดินสอ และวาดภาพได้ 
  • ใช้ช้อนและส้อมได้
3 - 4 ปี : วัยแห่งความปราดเปรียว
  •  ใช้กรรไกรตัดได้ในแนวตรง 
  • สามารถจับ / ขว้าง / เตะลูกบอล 
  • เริ่มที่จะวาดกากบาท และเขียนตัวอักษรบางตัว 
  • เริ่มที่จะวาดรูปคน มีหัว ตัว แขนและขา 
4 - 6 ปี : เตรียมพร้อมสู่การเข้าโรงเรียน
  • มีความสุขุมมากขึ้น 
  • สามารถจะช่วยทำงานบ้านได้ 
  • เริ่มรู้จักสี และเขียนตัวอักษรได้ 
  • แต่งตัวด้วยตนเองได้อย่างเรียบร้อย 
  • เริ่มรู้จักการเข้าสังคม